วันศุกร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2554

2.3 ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์

         เครื่องคอมพิวเตอร์ที่เราใช้งานอยู่ในสำนักงานในบ้านนั้นเรียกว่า ไมโครคอมพิวเตอร์ มีแบบตั้งโต๊ะ(Desktop)

แบบพกพา(Notebook) และ พาล์มทอป(Palmtop)


            ไมโครคอมพิวเตอร์มีส่วนประกอบ ดังนี้

                    Central Processing Unit : CPU
            หน่วยประมวลผลกลาง (central processing unit) หรืที่นิยมเรียกย่อๆ ว่า ซีพียู (CPU) เป็นส่วนตีความ และประมวลผล ตามชุดของคำสั่งเครื่องจากซอฟแวร์ หน่วยประมวลผลเปรียบเสมือนเป็นสมองของคอมพิวเตอร์ ในการทำหน้าที่ตัดสินใจ หรือคำนวณ จากคำสั่งที่ได้รับมา เช่น การเปรียบเทียบ การกระทำการทางคณิตศาสตร์ ฯลฯ โดยมีกระบวนการพื้นฐานคือ
  • อ่านชุดคำสั่ง (fetch)
  • ตีความชุดคำสั่ง (decode)
  • ประมวลผลชุดคำสั่ง (execute)
  • อ่านข้อมูลจากหน่วยความจำ (memory)
  • เขียนข้อมูล/ส่งผลการประมวลกลับ (write back)
CPU
CPU

                   
                    Main Board หรือ Mother Board
      
            เมนบอร์ด (mainboard) หรือ มาเธอร์บอร์ด (motherboard) เป็นแผงวงจรหลักของระบบคอมพิวเตอร์ จะเชื่อม ต่อหรือติดตั้งบน Mother Board นี้ทั้งสิ้นไม่ว่าจะเป็น CPU, Harddrive, VGA Card เป็นต้น
   สำหรับเมนบอร์ดของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล โดยทั่วไปจะประกอบด้วย หน่วยประมวลผลกลาง, ไบออส และหน่วยความจำหลักพร้อมช่องให้สามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์เสริมอื่นๆได้ทั้งอุปกรณ์เสริมภายในและอุปกรณ์เสริมเชื่อมต่อจากภายนอก
   ในบางประเทศ โดยเฉพาะในโฆษณาขายคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล นิยมใช้ศัพท์แสลงเรียกเมนบอร์ดว่า mobo (โมโบ) โดยเป็นคำย่อจาก motherboard
mainboard
Mainboard

                  
                     Main Memory : RAM      
   
            เป็นหน่วยความจำหลักของระบบ ซึ่งเป็นที่เก็บข้อมูล หรือ โปรแกรมชุดคำสั่งที่คอมพิวเตอร์ต้องใช้ในการ ประมวลผล Main Memory (RAM) ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมีด้วยกัน หลายประเภท ได้แก่
    - SIMM RAM (40 pin และ 72 pin) หรือที่เรียกอีกชื่อว่า FastPage และยังมี EDO RAM ซึ่งเพิ่มขีดความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลให้เร็วขึ้น     - DIMM RAM หรือที่เรียกกันว่า SDRAM เป็นRAM แบบ 168 pin มีตั้งแต่รองรับ Bus 66,100,133 (PC 66, PC 100, PC 133) เป็น RAM ที่ใช้กัน อยู่ในปัจจุบัน     - RIMM RAM หรือที่รู้จักในชื่อ Direct RAM BUS หรือ RDRAM เป็น RAM ที่ใช้กับ Mother Board ที่ใช้ ChipSet Intel คือ 820i, 840i, 850i ใช้กับ Pentium III และ Pentium IV     - DDRSDRAM เป็น RAM ที่ขยายเพิ่มขีด ความสามารถให้กับ SDRAM เดิมให้ทำงานได้ที่ความเร็ว 2 เท่า ปัจจุบันมีจำนวนคือ PC 1600, PC 2100 5)     - VCRAM หรือ Virtual RAM เป็น RAM ที่ไม่ค่อยพบเห็นในบ้านเรา ผลิตโดย บริษัท NEC
ram
RAM


                    Moniter
            จอภาพที่ใช้แสดงข้อมูลหรือโปรแกรม เป็นอุปกรณ์ OUTPUT อย่างหนึ่งที่จำเป็นต้องมีสำหรับการใช้งานคอมพิวเตอร์ ปัจจุบันจอภาพให้หลายขนาด ได้แก่ 14 นิ้ว 15 นิ้ว 17 นิ้ว และ 19 นิ้ว และมีหลายแบบให้เลือก ทั้งจอภาพธรรมดา (CRT จอใหญ่เหมือนทีวี อ้วน) หรือจอภาพแบน แอลซีดี (LCD จอที่มีลักษณะแบนเรียบทั้งตัวเครื่อง)
Moniter
Moniter


                    Display Card : Vga Card , Pci Card     
           
            เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการแสดงผลภาพออกทางจอภาพ
ซึ่งปัจจุบันจะ สนับสนุนการทำงานทั้ง 2 มิติ และ 3 มิติ และจะเน้นหนักไปที่การเล่นเกมเป็นหลัก บริษัทผู้ผลิตการ์ดแสดงผล ที่รู้จักกันดีได้แก่ Matrox, Ati, Nvidia, 3DLab และปัจจุบันการ์ดแสดงผลจะมีบทบาทมาก เนื่องจากมีการนำงานการคำนวณที่เกี่ยวกับการแสดงภาพมาคำนวณ ที่การ์ดแสดงผลแทนที่จะต้องคำนวณด้วย CPU จึงมีการเรียก Card ที่ทำงานในลักษณะนี้ว่า GPU (Graphic Processing Unit) ซึ่งจะพบใน Card ตระกูล GeForce ของบริษัท Nvidia ซึ่งปัจจุบัน Card Geforce 2 Ultra ถือเป็น Card ที่เร็วที่สุดในขณะนี้ และในการ์ดแสดงผลบางรุ่นยังมีช่องต่อ TV IN/OUT มาให้ด้วย และ ช่องต่อ Panel Moniter (LCD Moniter) ด้วย บางรุ่นสนับ สนุนการใช้ แว่นตา 3 มิติ เพื่ออรรถรสในการเล่นเกมส์
Pci Card
Pci Card

                   

                    Rom Drive : Cd Rom , Dvd Rom
      
            ปัจจุบัน
CDROM DRIVE เป็นอุปกรณ์ที่คอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง
ต้องมีเนื่องจากปัจจุบัน Software มีขนาดใหญ่มากไม่สามารถบรรจุ ลงบนแผ่น Floppy Disk ได้อีกต่อไป เทคโนลียีของ CDROM มี อยู่ 2 แบบ คือ

    - การหมุนด้วยความ เร็วคงที่     - การหมุนด้วยความเร็ว ไม่คงที่
    ซึ่งแบบแรกจะทำให้ออกแบบ
CDROM ได้ง่ายแต่ความเร็ว ในการเข้าถึงข้อมูลจะไม่คงที่ดังนั้น CDROM ที่ ใช้ระบบนี้จะระบุค่า ความเร็วที่ความเร็วสูงสุดที่ทำได้แทนความเร็ว เฉลี่ยจริงเช่น 50Xmax เป็นต้น ส่วนแบบหลังจะให้ความเร็วในการเข้าถึงข้อมูล แบบคงที่ ตลอดแต่การออกแบบ CDROM ทำได้ยากกว่าทำให้ ไม่เป็นที่นิยมในการออกแบบ และในปัจจุบันนี้บริษัท Kenwood ได้ทำการเสนอเทคโนโลยี TrueX ซึ่งใช้แสง Laser 7 เส้น ในการ อ่านข้อมูลจากแผ่น CDROM ทำให้เวลาในการเข้าถึงข้อมูลดีขึ้นจน ความเร็วสูงสุดกับความเร็วเฉลี่ยใกล้เคียงกัน และประกอบกับปัจจุบัน DVDROM DRIVE ได้รับความนิยมอย่างมากเนื่องจากการที่ สามารถเก็บข้อมูลปริมาณมาก ๆ ได้โดยสามารถเก็บข้อมูลได้มากกว่า แผ่น CDROM ประมาณ 12 เท่า อีกทั้งราคาที่ถูกลงอย่างมากทำ ให้เป็นอีกเทคโนโลยีหนึ่งที่น่าสน ใจ และ CD-RW ซึ่งเป็นเครื่องเขียน CDROM ก็มีราคาที่ถูกลงอย่างมากด้วย คาดว่าอีกไม่นาน DVDROM DRIVE และ CD-RW DRIVE จะเข้ามาแทนที่ ตำแหน่ง CDROM DRIVE เดิม
cdrom
Rom Drive



                    Hard drive : Hard disk
      
            เป็นอุปกรณ์ที่ใช้บันทึกข้อมูล
 หรือ Software ที่เราต้องการ เก็บไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ Harddrive(Harddisk) ปัจจุบันมี มาตรฐานการเชื่อมต่อหลัก ๆ อยู่ 2 แบบ คือ ATA(IDE) และ SISC (สกัสซี่) ซึ่งปัจจุบัน SISC อยู่ที่ ความเร็ว 160 MB/Sec ส่วน ATA อยู่ที่ 100 MB/Sec ทั้งสองมาตรฐานต้องต่อกับ อุปกรณ์เฉพาะที่ออกแบบมากับ แต่ละแบบ ไม่สามารถนำมาต่อเข้าด้วย กันได้ ยกเว้นจะมีตัวควบคุม (Controller) แยกต่างหาก
hard disk
Hard disk



                    Printer
    
            เป็นอุปกรณ์ Output Deviceซึ่งทำหน้าที่พิมพ์เอกสารหรือรูปภาพที่ต้องการออกทางเครื่องพิมพ์ ปัจจุบันมี Printer อยู่ 3 ประเภท คือ Dotmatrix Printer ซึ่งเป็นแบบหัวกระแทกผ้าหมึกเกิดเป็นตัวอักษรหรือภาพ เหมาะกับงานพิมพ์เอกสาร Inkjet Printer เป็นแบบพ่นน้ำหมึกลงไปบนกระดาษซึ่งงานพิมพ์ที่ออกมาจะมีความ ละเอียดและสวยงามกว่า Dotmatrix Printer แต่ค่าน้ำหมึกแพงจึงเหมาะกับงานที่ต้องการความเร็ว และพิมพ์รูปภาพ มากกว่าการพิมพ์เอกสาร Laser Printer เป็นเครื่องพิมพ์ที่มีความเร็วสูงที่สุดและมีราคาแพงที่สุดใน 3 ประเภทมีความละเอียดสูงแต่ราคาค่าหมึกแพงเหมาะกับงานทุก ประเภทที่ต้องการความรวดเร็วในการพิมพ์
printer
Printer



                    Modem
       
            เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการแปลงสัญญาณ Analog ไปเป็น สัญญาณ Digital และ จาก Digital ไปเป็นสัญญาณ Analog ซึ่งใน คอมพิวเตอร์นั้นจะมีลักษณะสัญญาณเป็นแบบ Digital ดังนั้นจึงต้อง ใช้ Modem ในการแปลงสัญญาณเพื่อที่จะสามารถส่งสัญญาณไปบน สายโทรศัพท์ ธรรมดาได้ วัตถุประสงค์ของ Modem คือใช้ในการ เชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ในระยะทางไกล ๆ ซึ่งที่พบเห็น การคือการเชื่อมต่อ Internet จากบ้านไปยังผู้ให้บริการ Internet (ISP Internet Service Provider) ซึ่งในปัจจุบันได้มีการนำเทค โนโลยี ADSL ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อด้วยสัญญาณ Digital โดยต้องใช้ กับ DigitalModem หรือ ADSL Modem ซึ่งจะมีความเร็วใน การเชื่อมต่อ ตั้งแต่ 128 Kbit/Sec ขึ้นไป ซึ่ง Modem แบบ Analog ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน มีความเร็วสูงสุดที่ 56 Kbit/Sec และ Modem ยังแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือแบบติดตั้งภายใน (Internal Modem) ซึ่งจะเสียบบน ISA Slot หรือ PCI Slot ภายในเครื่อง ราคาถูก อีกแบบ คือแบบติดตั้งภายนอกซึ่งที่พบเห็นบ่อย จะมี 2 แบบ คือต่อผ่าน Serial Port (COM Port) และ แบบต่อ ผ่าน USB Port (Universal Serial Bus) ซึ่งมีราคาที่แพงกว่า แบบติดตั้งภายในแต่สะดวกในการเคลื่อนย้าย และไม่สร้างปัญหาเรื่อง ความร้อนให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์
modem
Modem



                    Network Card
      
            Network Card หรือบางครั้งเรียกว่า LAN Card เป็นการ์ดที่ใช้ในการเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่าย โดยการนำคอมพิวเตอร์มาต่อเชื่อมกันผ่าน LAN Card ซึ่งบางครั้งอาจต้องมีอุปกรณ์อื่นเสริม เช่น HUB, Switching, Rounter เป็นต้น ขึ้นอยู่กับขนาดขององค์กร และวัตถุประสงค์ในการใช้งาน ความเร็วจะมีตั้งแต่ 10 Mbit/sec จนถึงระดับ Gbit/bit ขึ้นอยู่กับอุปกรณ์และระบบเครือข่ายที่ใช้ว่าเป็นแบบ Bus, Star, Ethernet, Ring, ATM, ISDN เป็นต้น
network card
Network Card

                   

                    Case
      
            เป็นอุปกรณ์ที่เป็นตัวถึงของเครื่องคอมพิวเตอร์มีผู้ผลิตหลายรายได้ทำการผลิตคิดคงรูปร่างของ Case ใหม่ ให้มีสีสันสวยงาม หรือ ออกแบบมาให้เหมาะกับ การใช้งานบางประเภท เช่น Case สำหรับ เครื่อง Server Case ในท้องตลาด ปัจจุบันจะแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ Case โลหะ และ Case พลาสติก โดยแบบหลังจะมีราคาที่แพงกว่า เพราะมีป้องกันในส่วนของไฟฟ้ารั่ว และ Case ก็จะออกแบบมา ให้เหมาะสมกับ ชนิดของ Mother Board แต่ละประเภทด้วย เช่น Baby AT, ATX, Flex ATX, Micro ATX เป็นต้น
case
Case



                    Mouse
      
            Mouse จัดเป็น Input Device ประเภทหนึ่ง
ซึ่งข้อมูลที่ป้อนเข้าไปจะเป็นตำแหน่งและการกด Mouse มีอยู่ด้วยกัน หลายประเภทโดยจะมี 1)Mouse แบบปกติที่พบเห็นทั่วไปอาจจะมี 2 ปุ่ม หรือ 3 ปุ่ม) Mouseแบบไร้สาย (WireLess) ซึ่งจะใช้ สัญญาณวิทยุโดย Mouse เป็นตัวส่งสัญญาณ และมีตัวรับสัญญาน ที่ต่อกับเครื่องคอม) Mouse แสง (Optical Mouse) เป็น Mouse ที่ไม่มีลูกกลิ้งที่ฐาน Mouse โดยใช้การอ่านค่าจากการ สะท้อนของแสงที่สัมผัสกับพื้นผิว Scroll Mouse เป็น Mouse ที่มี Scroll ไว้เพื่อใช้เลื่อน Scroll Bar ในโปรแกรมประยุกต์ต่าง ๆ เช่น Internet Explorer นอกจาก Mouse แล้วยังมีอุปกรณ์อีก ประเภท
เรียกว่า Track Ball ซึ่งจะมีลักษณะคล้าย Mouse แต่จะมีBall อยู่ด้านบนแทนที่จะอยู่ด้านล่าง และเลื่อน Pointer โดยการ ใช้ นิ้วมือกลิ้งไปบน Ball
mouse
Mouse



                    Keyboard
      
            เป็นอีกหนึ่ง
Input Device ที่รับข้อมูลเข้าโดยการ ป้อนข้อมูลผ่านแป้นพิมพ์ ในอดีตจะมี key อยู่ 101-102 key แต่ปัจจุบันได้มีการเพิ่ม Function เข้าไปเป็นจำนวน มากทำให้มี key เพิ่มขึ้นมาเป็นจำนวนมาก การออกแบบ keyboard ได้มีการพยายามออกแบบให้ใช้งานง่ายตรงกับลักษณะการพิมพ์ของ คนเพื่อทำให้ไม่รู้สึกเมื่อยล้าเวลาพิมพ์ และยังมีการพัฒนาให้เป็น แบบไร้สายเช่นเดียวกับ Mouse มีการเพิ่ม function Multimedia เข้าไปเช่น เพิ่ม Volume ของเสียง เปิดเพลงเป็นต้น
keyboard
Keyboard



                    Speaker
      
            ลำโพงนับเป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ ในปัจจุบันเทคโนโลยีของลำโพงในปัจจุบันเริ่มมีการสนับสนุนการทำ งานแบบ รอบทิศทาง โดยมีตั้งแต่ลำโพงแบบ 2 ลำโพง, 2 ลำโพง + 1 Subwoofer, 4 ลำโพง, 4 ลำโพง + 1 Subwoofer, 5 ลำโพง และ 6 ลำโพง คือ หน้า(Front)(ซ้าย + ขวา), กลาง(Center), หลัง(Rear)(ซ้าย + ขวา), Subwoofer และบางรุ่นมีตัวถอดรหัส สัญญาณเสียง Digital ด้วย มีช่องต่อ S/P DIF มาด้วย เพื่อรองรับ การ์ดเสียงที่มีช่องต่อ S/P DIF Output เพื่อเพิ่มคุณภาพของเสียง ให้ดียิ่งขี้น
speaker
Speaker



                    Scaner     

            Scanner เป็น Input Device ที่รับข้อมูลโดยการ Scan ภาพหรือ เอกสาร ซึ่งปัจจุบันมีการนำFunction ในการส่งเอกสารเพิ่มเข้าไปใน Scanner ซึ่งสามารถส่งภาพที่ Scan โดยกดปุ่มที่ Scanner แทนที่จะต้องไปแนบภาพกับ e-mail แล้วค่อยส่ง คุณสมบัติของ Scanner จะวัดที่ค่า Resolution ว่ามีความละเอียดเท่าไร แสดงได้กี่สี และความเร็วในการ Scan
scaner
Scaner



                    Cam
       
            เป็น
Input Device ที่รับข้อมูลเป็นภาพเข้าไปผ่านอุปกรณ์ตัวนี้ซึ่งมีประโยชน์ในการใช้ในการประชุมผ่าน Internet หรือการพูดคุยผ่าน Internet โดยเห็นน่าผู้สนทนากับเราด้วย ซึ่งเป็นอุปกรณ์เสริม แล้วแต่ความจำเป็นของผู้ใช้
cam
Cam



                    Floppy Drive : Drive A
      
            เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการอ่านและ ขียนแผ่น
Floppy Disk ซึ่งมีความจุต่าง ๆ กันเช่น 360KB, 720KB, 1.2MB, 1.44MB, 2.88 MB ซึ่งมีขนาด 3.5" และ 5.25" นอกจาก Floppy Driveแล้วยังมี อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลชั่วคราวอื่น ๆ เช่น Zip Drive,Jazz Drive, SuperDrive และล้าสุดกับ Trump Drive ซึ่งสามารถนำไปต่อกับ Port USB เพื่อทำการแลกเปลี่ยนข้อมูลได้ทันที
Drive A
Drive A



                    Power Supply
      
            Power Supply เป็นแหล่งจ่ายไฟให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งปัจจุบันมี Power Supply อยู่ 3 แบบ คือ แบบ AT, ATX, และ Power Supply ที่ออกแบบให้ใช้กับ Mother Board สำหรับ Pentium IV แต่ละแบบจะมีกำลังที่ต่างกัน ตั้งแต่ 200 Watt ขึ้นไป ปัจจุบันกำลังไฟที่ใช้จะอยู่ประมาณ 300 Watt
powersupply
Power Supply



                    CPU Fan
     
            พัดลม
CPU นับเป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์ที่ต้องเลือกให้ดีเพราะเนื่องจากCPU มีความร้อนสูงการเลือกพัดลมที่ไม่เหมาะกับการ CPU อาจเกิด ความเสียหายต่อ CPU หรือทำให้ระบบคอมฯไม่มีเสถียรภาพ ได้ ปัจจุบัน พัดลม CPU ได้ถูกออกแบบมาเฉพาะกับ CPU แต่ละรุ่น ซึ่งจะมีรูปร่าง และวัสดุที่ใช้ทำต่างกัน มีการนำทองแดงมา ใช้เป็นวัสดุ ในการทำแทน อลูมิเนียม เพื่อช่วยระบายความร้อน ใส่พัดลมที่มีกำลังแรงและมีขนาดใหญ่มีการออกแบบครีบให้มากเพื่อ ช่วยระบายความ ร้อน
CPU fan
Cpu Fan



                    Joy Pad
      
            จัดเป็นอุปกรณ์
Input Device อีกประเภทหนึ่งทำหน้าที่คล้าย Mouse แต่มีไว้สำหรับเล่นเกมส์ ซึ่งผู้ผลิต Game Pad หรือ Joystick จะทำการออกแบบลักษณะของ Game Pad เพื่อให้ ผู้ใช้รู้สึกสนุกและสมจริงกับการเล่นเกม โดยจะมีปุ่มที่ ต่างกันแล้วแต่วัตถุประสงค์ของผู้เล่น เพราะสามารถกำหนดหน้าที่ให้กับปุ่มแต่ละปุ่มได้
joypad

2.2 หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์

การทำงานของคอมพิวเตอร์ !!!

  คอมพิวเตอร์ ทำงานอย่างไร

การทำงานของคอมพิวเตอร์แบ่งการทำงานได้เป็น 4 ส่วน ซึ่งได้แก่ รับคำสั่ง เก็บข้อมูล ประมวลผล และแสดงผลลัพธ์ออกมาให้เห็น

1. รับข้อมูลเข้า (Input Device) เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อุปกรณ์อินพุท ใช้สำหรับในการสั่งงานคอมพิวเตอร์ เช่น เม้าส์ คีย์บอร์ด โมเด็ม จอยสติ๊ก เป็นต้น

2. เก็บข้อมูล (Storage Device) อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูล และเป็นเครื่องช่วยในการบันทึกข้อมูล เช่น ฮาร์ดดิสก์ ฟลอปปีดิสก์ เทปไดรฟ์ ซีดีรอมไดรฟ์, zip disk, MO, PD, DVD เป็นต้น
3. ประมวลผล (Processing Device) อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูล คือ CPU (Central Processing Unit) ซึ่งทำหน้าที่คล้าย ๆ กับ "สมอง" สำหรับ CPU ที่หลาย ๆ คนอาจเคยได้ยินชื่อมาแล้ว เช่น Intel, ADM, Cyrix เป็นต้น
4. แสดงผลลัพธ์ (Output Device) เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อุปกรณ์เอ้าต์พุต ทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์ออกมา เช่น แสดงบนจอภาพ หรือพิมพ์สู่กระดาษ รวมทั้งเสียงที่ขับออกมาจากลำโพง เป็นต้น

2.1 องค์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์

องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์

ฮาร์ดแวร์ (Hardware)

องค์ประกอบคอมพิวเตอร์ หมายถึง ส่วนการทํางานที่จําเป็นสําหรับคอมพิวเตอร์ 4 ส่วนคือส่วนที่ทําหน้าที่รับข้อมูล และคําสั่ง หรือเรียกว่าหน่วยรับข้อมูลเข้า ส่วนที่ทําหน้าที่นําข้อมูลที่นําเข้า หรือคําสั่งไปประมวลผล หรือเรียกกว่าหน่วยประมวลผลกลาง ส่วนที่ทําหน้าที่นําผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลกลางไปแสดง หรือเรียกกว่าหน่วยแสดงผล และส่วนที่ทําหน้าที่จัดเก็บข้อมูลไว้เพื่อที่จะนํามาใช้ในภายภาคหน้าหรือ เรียกว่าว่าหน่วยเก็บข้อมูลสํารองจําลองลักษณะการทํางานที่จําเป็นสําหรับ คอมพิวเตอร์ (องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์)
1 หน่วยรับข้อมูลเข้า (Input Unit)
หน่วยรับข้อมูล เข้า เป็นหน่วยที่ทําหน้าที่รับข้อมูล หรือคําสั่งเข้าสู่คอมพิวเตอร์เพื่อให้คอมพิวเตอร์นําข้อมูล หรือคําสั่งดังกล่าวไปประมวลผลกลางต่อไป ตัวอย่างของอุปกรณ์ที่จัดอยู่ในหน่วยรับข้อมูลเข้าได้แก่
  • แป้นพิมพ์ (Keyboard)
  • เมาส์ (Mouse)
  • ไมโครโฟน (Microphone)
  • แสกนเนอร์ (Scanner)
  • กล้องดิจิตอล
  • ตัวอย่างของหน่วยรับข้อมูลเข้าแสดงในรูป
2 หน่วยประมวลผล (Central Process Unit)
หน่วย ประมวลผลกลาง เป็นหน่วยที่สําคัญที่สุด เปรียบได้กับสมองของคอมพิวเตอร์มีหน้าที่ประมวลผลของมูล หรือคําสั่งต่าง ๆ และมีหน้าที่ควบคุมระบบต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์ ให้ทุกหน่วยทํางานสอดคล้องกัน ซึ่งหน่วยประมวลผลการจะประกอบด้วยหน่วยย่อย ๆ ดังต่อไปนี้
  • หน่วยความจํา (Memory Unit)
  • รีจิสเตอร์ (Register) คือ หน่วยความจําที่อยู่ภายใน CPU ทําหน้าที่เก็บข้อมูลที่ส่งมาจากหน่วยความจําหลัก และจะนําข้อมูลดังกล่าวไปประมวลผล
  • รอม (Read Only Memory: ROM) คือ หน่วยความจําหลักชนิดถาวรของคอมพิวเตอร์ทําหน้าที่เก็บคําสั่งต่าง ๆ ไม่สามารถแก้ไข้ข้อมูลในรอมได้ เปรียบได้กับหนังสือที่จะเก็บความรู้ต่าง ๆ เอาไว้
  • แรม (Random Access Memory: RAM) คือ หน่วยความจําหลักชนิดหนึ่งของคอมพิวเตอร์ทําหน้าที่เก็บข้อมูล หรือคําสั่งต่าง ๆ ที่ใช้ในการประมวลผล สามารถแก้ไขข้อมูลในแรมได้ และข้อมูลจะหายไปเมื่อปิดเครื่อง
  • คอมพิวเตอร์ เปรียบได้กับกระดาษทดหน่วยคํานวณ และตรรกะ (Arithmetic and Login Unit: ALU) เป็นหน่วยที่ทําหน้าที่คํานวณทางด้านคณิตศาสตร์ เช่น บวก ลบ คูณ หาร หรือคํานวณทางตรรกะศาสตร์ เช่น เปรียบเทียบข้อเท็จ เป็นต้น
  • หน่วยควบคุม (Control Unit) เป็นหน่วยที่ทําหน้าที่ควบคุมการทํางานทุกๆ หน่วยในCPU และอุปกรณ์ต่อพ่วงให้ทํางานได้อย่างสัมพันธ์กัน
3 หน่วยแสดงผล (Output Unit)
หน่วยแสดงผลเป็นหน่วยที่ทําหน้าที่นําผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลกลางไปแสดง
ตัวอย่างอุปกรณ์ที่จัดเป็นชนิดหน่วยแสดงผลได้แก่
  • จอภาพ
  • เครื่องพิมพ์
  • ลําโพง
  • ตัวอย่างของหน่วยแสดงผลดังแสดงในรูป
4 หน่วยเก็บข้อมูลสํารอง (Secondary Storage)
หน่วยเก็บข้อมูลสํารอง คือ สื่อในการเก็บบันทึกข้อมูล เช่น Hard disk, CD-ROM,Tape, Floppy disk เป็นต้น

ซอฟต์แวร์ (Software)
 คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ที่ประกอบ ออกมาจากโรงงานจะยังไม่สามารถทำงานใดๆ เนื่องจากต้องมี ซอฟต์แวร์ (Software) ซึ่งเป็นชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่สั่งให้ฮาร์ดแวร์ทำงานต่าง ๆ ตามต้องการ โดยชุดคำสั่งหรือโปรแกรมนั้นจะเขียนขึ้นมาจาก ภาษาคอมพิวเตอร์ (Programming Language) ภาษาใดภาษาหนึ่ง และมี โปรแกรมเมอร์ (Programmer) หรือนักเขียนโปรแกรมเป็นผู้ใช้ภาษาคอมพิวเตอร์เหล่านั้นเขียนซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ขึ้นมา

ซอฟต์แวร์ สามารถแบ่งออกเป็นสองประเภทใหญ่ๆคือ
  • ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software )
  • ซอฟต์แวร์ประยุกต์ ( Application Software )
ซอฟต์แวร์ระบบ โดยส่วนมากแล้วจะติดตั้งมากับเครื่องคอมพิวเตอร์เนื่องจากซอฟต์แวร์ระบบเป็น ส่วนควบคุมทำงานต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์ เพื่อให้สามารถเริ่มต้นการทำงานอื่น ๆ ที่ผู้ใช้ต้องการได้ต่อไป ส่วน ซอฟต์แวร์ประยุกต์ จะเป็นซอฟต์แวร์ที่เน้นในการช่วยการทำงานต่าง ๆ ให้กับผู้ใช้ ซึ่งแตกต่างกันไปตามความต้องการของผู้ใช้แต่ละคน

บุคลากร (Peopleware)
เครื่องคอมพิวเตอร์โดยมากต้องใช้บุคลากรสั่งให้เครื่อง ทำงาน เรียกบุคลากรเหล่านี้ว่า ผู้ใช้ หรือ ยูเซอร์ (user) แต่ก็มีบางชนิดที่สามารถทำงานได้เองโดยไม่ต้องใช้ผู้ควบคุม อย่างไรก็ตาม คอมพิวเตอร์ก็ยังคงต้องถูกออกแบบหรือดูแลรักษาโดยมนุษย์เสมอ

ผู้ใช้ คอมพิวเตอร์ (computer user) แบ่งได้เป็นหลายระดับ เพราะผู้ใช้คอมพิวเตอร์บางส่วนก็ทำงานพื้นฐานของคอมพิวเตอร์เท่านั้น แต่บางส่วนก็พยายามศึกษาโปรแกรมประยุกต์ในขั้นที่สูงขึ้น ทำให้มีความชำนาญในการใช้โปรแกรมประยุกต์ต่าง ๆ นิยมเรียกกลุ่มนี้ว่า เพาเวอร์ยูสเซอร์ (power user)

ผู้เชี่ยวชาญทางด้านคอมพิวเตอร์ (computer professional) หมายถึงผู้ที่ได้ศึกษาวิชาการทางด้านคอมพิวเตอร์ ทั้งในระดับกลางและระดับสูง ผู้เชี่ยวชาญทางด้านนี้จะนำความรู้ที่ได้ศึกษามาประยุกต์และพัฒนาใช้งาน และประสิทธิภาพของระบบคอมพิวเตอร์ให้ทำงานในขั้นสูงขึ้นไปได้อีก นักเขียนโปรแกรม (programmer) ก็ถือว่าเป็นผู้เชียวชาญทางคอมพิวเตอร์เช่นกัน เพราะสามารถสร้างโปรแกรมใหม่ ๆ ได้ และเป็นเส้นทางหนึ่งที่จะนำไปสู่การเป็นผู้เชี่ยวชาญทางคอมพิวเตอร์ต่อไป

บุคลากร ก็เป็นส่วนหนึ่งของระบบคอมพิวเตอร์ เพราะมีความเกี่ยวข้องกับระบบคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่การพัฒนาเครื่องคอมพิวเตอร์ ตลอดจนถึงการนำคอมพิวเตอร์มาใช้งานต่าง ๆ ซึ่งสามารถสรุปลักษณะงานได้ดังนี้
  • การดำเนินงานและเครื่องอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น การบันทึกข้อมูลลงสื่อ หรือส่งข้อมูลเข้าประมวล หรือควบคุมการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ เช่น เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล (Data Entry Operator) เป็นต้น
  • การพัฒนาและบำรุงรักษาโปรแกรม เช่น เจ้าหน้าที่พัฒนาโปรแกรมประยุกต์ (Application Programmer) เจ้าหน้าที่พัฒนาโปรแกรม (System Programmer) เป็นต้น
  • การวิเคราะห์และออกแบบระบบงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ประมวลผล เช่น เจ้าหน้าที่วิเคราะห์และออกแบบระบบงาน (System Analyst and Administrator) วิศวกรระบบ (System Engineer) เจ้าหน้าที่จัดการฐานข้อมูล (Database Adminstrator) เป็นต้น
  • การพัฒนาและบำรุงรักษาระบบทางฮาร์ดแวร์ เช่น เจ้าหน้าที่ควบคุมการทำงานระบบคอมพิวเตอร์ (Computer Operator) เป็นต้น
การบริหารในหน่วยประมวลผลข้อมูล เช่น ผู้บริหารศูนย์ประมวลผลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ (EDP Manager) เป็นต้น


ข้อมูลและสารสนเทศ (Data / Information)
ใน การทำงานต่าง ๆ จะต้องมีข้อมูลเกิดขึ้นตลอดเวลา ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับงานที่ถูกเก็บรวบรวมมาประมวลผล เพื่อให้ได้สารสนเทศที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้ ซึ้งในปัจจุบันมีการนำเอาระบบคอมพิวเตอร์มาเป็นข้อมูลในการดัดแปลงข้อมูลให้ ได้ประสิทธิภาพโดยแตกต่างๆระหว่าง ข้อมูล และ สารสนเทศ คือ

ข้อมูล คือ ได้จากการสำรวจจริง แต่ สารสนเทศ คือ ได้จากข้อมูลไม่ผ่านกระบวนการหนึ่งก่อน

สารสนเทศเป็นสิ่งที่ผู้บริหาารนำไปใช้ช่วยในการตัดสินใจ โดยที่สารสนเทศที่มีประโยชน์นั้นจะมีคุณสมบัติ ดังนี้

     มีความสัมพันธ์กัน (relevant) สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน
     มีความทันสมัย (timely) ต้องมีความทันสมัยและพร้อมที่จะใช้งานได้ทันทีเมื่อต้องการ
     มีความถูกต้องแม่นยำ (accurate) เมื่อป้อนข้อมูลเข้าสู่คอมพิวเตอร์และผลลัพธ์ที่ได้จะต้องถูกต้องในทุกส่วน
     มีความกระชับรัดกุม (concise) ข้อมูลจะต้องถูกย่นให้มีความยาวที่พอเหมาะ
     มีความสมบูรณ์ในตัวเอง (complete) ต้องรวบรวมข้อมูลที่สำคัญไว้อย่างครบถ้วน

กระบวนการทำงาน (Procedure) กระบวน การทำงานหรือโพรซีเยอร์ หมายถึง ขั้นตอนที่ผู้ใช้จะต้องทำตาม เพื่อให้ได้งานเฉพาะอย่างจากคอมพิวเตอร์ซึ่งผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทุกคนต้องรู้ การทำงานพื้นฐานของเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อที่จะสามารถใช้งานได้อย่างถูกต้อง ตัวอย่างเช่น การใช้เครื่อง ฝาก-ถอนเงินอัตโนมัติ ถ้าต้องการถอนเงินจะต้องผ่านกระบวนการต่าง ๆ ดังนี้
  1. จอภาพแสดงข้อความเตรียมพร้อมที่จะทำงาน
  2. สอดบัตร และพิมพ์รหัสผู้ใช้
  3. เลือกรายการ
  4. ใส่จำนวนเงินที่ต้องการ
  5. รับเงิน
  6. รับใบบันทึกรายการ และบัตร
การใช้คอมพิวเตอร์ปฏิบัติงานในส่วนต่าง ๆ นั้นมักจะมีขั้นตอนที่สลับซับซ้อน และเกี่ยวข้องกับช่วงเวลาต่าง ๆ ในการปฏิบัติงานด้วย จึงต้องมีคู่มือการปฏิบัติงานที่ชัดเจน เช่น คู่มือสำหรับผู้ควบคุมเครื่อง (Operation Manual) คู่มือสำหรับผู้ใช้ (User Manual) เป็นต้น